สรุปท้ายบทที่9 ข้อมูลชนิดโครงสร้างและการจัดการแฟ้มข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File) คือ ที่เก็บข้อมูลถาวร ก่อนหน้านี้ ข้อมูลที่เรารับค่าและแสดงผลจะถูกบันทึกอยู่ในที่เก็บข้อมูล
ชั่วขณะเท่านั้น เมื่อโปรแกรมทำงานจบ ข้อมูลเหล่านั้นจะหายไป แต่ไฟล์ จะทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลสำหรับงานของเราไว้ได้อย่างถาวร เมื่อใดที่เราต้องการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ เราจึงสั่งให้
โปรแกรมเข้าไปนำค่านั ้นๆ ออกมาใช้งาน แบ่งเป็ น 2 ประเภท
– Text Files แฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลในรูปแบบตัวอักษร
– Binary Files แฟ้มข้อมูลสำหรับงานของคอมพิวเตอร
File? (cont.) เราทำงานกับไฟล์ได้ทั้งการอ่าน หรือ เขียนไฟล์ หากเราสั่งให้โปรแกรมที่เราสร้างขึ้นมาอ่านไฟล์ ข้อมูลจะถูกอ่านขึ ้นมา
เก็บไว้ในหน่วยความจำก่อนนำไปใช้ หากเราสั่งให้โปรแกรมที่เราสร้างขึ ้นมาเขียนไฟล์ ข้อมูลที่เราจะเขียนจะ
ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำก่อนจะถูกเขียนลงไฟล์ เราเรียกหน่วยความจำที่พักนี้ว่า บัฟเฟอร์ (Buffer)
Principle of Programming 4 Program Buffer File
2. ฟังก์ชัน fclose( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการปิดแฟ้มข้อมูลเมื่อใช้งานแฟ้มข้อมูลเสร็จแล้ว เช่น เมื่อสิ้นสุดการบันทึก หรืออ่านข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลใดจะต้องปิดแฟ้มข้อมูลนั้น เพื่อทำให้ข้อมูลที่ค้างอยู่ใน Buffer ของหน่วยความจำของเครื่อง ถูกนำไปเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล แต่ถ้าเราลืมใช้คำสั่ง fclose( ) เมื่อสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม ภาษา C จะปิดแฟ้มข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนโปรแกรมควรใช้ fclose( ) ทุกครั้งที่ไม่ใช้แฟ้มข้อมูลแล้วเพื่อสร้างลักษณะนิสัยที่ดีในการใช้งานแฟ้มข้อมูล
3.ฟังก์ชัน fprintf( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้บันทึกข้อมูล (write) ลงแฟ้มโดยสามารถจัดรูปแบบข้อมูลที่ต้องการบันทึกได้คล้ายกับฟังก์ชัน printf( ) แตกต่างกันตรงที่ printf( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้พิมพ์ผลลัพธ์ออกทางจอภาพแต่ฟังก์ชัน fprintf( ) ใช้บันทึกข้อมูลลงแฟ้ม
4.ฟังก์ชัน fscanf( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้อ่านข้อมูล (read) ขึ้นจากแฟ้มข้อมูลแล้วนำมาเก็บไว้ในตัวแปรที่ต้องการได้โดยมีการทำงานคล้ายกับฟังก์ชัน scanf( ) แตกต่างกันตรงที่ฟังก์ชัน fscanf( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้อ่านข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลแต่ฟังก์ชัน scanf( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลจากคีย์บอร์ดแล้วไปเก็บไว้ในตัวแปรที่ต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น