สรุปท้ายบทที่7 อาร์เรย์และฟังก์ชันจัดการสตริง
ตัวแปรอาเรย์ ( Array Variable)
array คือกลุ่มของข้อมูลที่เรียงลำดับกัน มีจำนวนแน่นอนซึ่งข้อมูลจะเป็นประเภทเดียวกัน ข้อมูลแต่ละตัวของอาร์เรย์
จะเรียกว่า อีลีเมนต์(Element) และข้อมูลแต่ละอีลีเมนต์จะมีหมายเลขเพื่อใช้ในการอ้างอิงถึงเรียกตัวเลขนี้ ว่า เลขดัชนี (Index) จะเป็นตัวแปรที่ชื่อ เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันตรงหมายเลข
อาร์เรย์ 1 มิติ
การใช้ตัวแปร array มีรูปแบบดังนี้
ประเภทตัวแปร ชื่อตัวแปรarray[จำนวนสมาชิกของ array];
เช่น
int Score[4];
ในที่นี้มีความหมายว่า เป็นการประกาศตัวแปร array ชื่อ Score มีจำนวน 4 รายการ โดยมีรายการที่
Score[0]
Score[1]
Score[2]
Score[3]
Score[0] Score[1] Score[2] Score[3]
int int int int
รายการของ array จะเริ่มที่ 0 ไม่ได้เริ่มที่ 1 ถ้าเราประกาศตัวแปร array เช่น int i[3] ก็จะมีรายการที่ 0 ถึง 2 จะไม่มีหมายเลข อินเด็กซ์ 3
ตัวแปรอาร์เรย์หลายตัว
การประกาศอาร์เรย์หลายตัวทำได้ดังนี้
int [] abc , xyz;
abc = new int[500];
xyz = new int[10];
หรือเขียนรวมกันได้ดังนี้
int[] abc = new int [500], xyz = new int[10];
***ข้อควรระวัง
int [] a , b ; a และ b เป็น Array
nt a[], b ; a เป็น Array b ไม่เป็น Array
การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอาร์เรย์ 1 มิติ
สามารถกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับ array ได้ตั้งแต่ตอนประกาศตัวแปร
ค่าที่กำหนดต้องอยู่ในเครื่องหมาย { } และถ้ามีมากกว่า 1 ค่า ต้องแยกจากกันด้วยเครื่องหมาย ,(comma)
เช่น int a[5] = {10,20,30,40,50 } ;
ถ้าในตอนประกาศตัวแปรอาร์เรย์ไม่กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับมันแล้ว ค่าที่อยู่ในตัวแปรจะเป็นค่าที่ค้างอยู่ในหน่วยความจำช่วงที่เราจองไว้เป็นอาร์เรย์นั้น
ถ้ากำหนดค่าเริ่มต้นตั้งแต่ตอนประกาศตัวแปรแต่กำหนดไม่ครบ ในกรณีที่เป็นอาร์เรย์แบบตัวเลขทั้งจำนวนเต็มและจำนวนจริง ค่าที่เหลือจะถูกกำหนดเป็น 0 โดยอัตโนมัติ
เช่น float price[5] = {50.5,2.25,10.0} ;
บางครั้งถ้ากำหนดค่าเริ่มต้นให้แก่อาร์เรย์เลย เราไม่จำเป็นต้องใส่ขนาดของอาร์เรย์ก็ได้
เช่น float a[ ] = {1,2,3,4,5} ;
ความหมายคือ เป็นการกำหนดตัวแปรอาร์เรย์ของจำนวนจริงแบบ float ขนาด 5 ช่อง
***เราไม่สามารถประกาศตัวแปรอาร์เรย์โดยไม่ใส่ขนาดของอาร์เรย์ได้ ยกเว้นมีการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับมันตั้งแต่แรก
การประมวลผลอาร์เรย์
Element ของอาร์เรย์ ลำดับแรกจะเป็น 0 เสมอ ลำดับของ Element ของอาร์เรย์โดยส่วนมากจะเป็นค่าตัวเลขจำนวนเต็ม ตัวอย่างเช่น ใช้อาร์เรย์ scores เราจะเข้าถึง Element แรกได้ดังนี้
scores[0]
และถ้าต้องการจะประมวลผล Element ทั้งหมด ก็สามารถใช้ลูปเข้ามาช่วยได้ดังตัวอย่างด้านล่างนี้
for (i=0;<9;i++)
scores[i]…;
อาร์เรย์กับการผ่านค่า
การส่ง Array เข้าไปใน Method จะเป็นการส่งตำแหน่งของ Array ( Reference ) เข้าไปให้กับ Parameter ของ Method
อาร์เรย์ของออบเจ็กต์
อาร์เรย์สามารถเก็บ reference ของ Object ได้ โดยกำหนดให้อาเรย์ เป็น Class นั้นๆ ในตอนประกาศอาเรย์ มีรูปแบบดังนี้
className [] arrayName = new className[size];
เช่น Student [ ] studentList = new Student[10];
Student [ ] studentList = new Student[3];
studentList[0] = new Student();
studentList[1] = new Student();
studentList[2] = new Student();
อาร์เรย์ 2 มิติ
• อาร์เรย์ 2 มิติ เป็นตัวแปรชุดที่มีการจัดการข้อมูล Row (แถว) , Column (หลัก) ซึ่งอยู่ในรูปแบบตาราง ที่มีแสดงตำแหน่ง 2 ตัว
• อาร์เรย์ 2 มิติ คือ array of array กล่าวคือ array 2 มิติ เป็น array ของ array 1 มิติ นั่นเอง
การประกาศตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติ
• แบบที่ 1 แบบระบุขนาดไม่กำหนดค่าเริ่มต้น
data_type array_name[row_size][column_size];
• ตัวอย่าง
int score[2][10];
char id[2][10];
**สร้างตัวแปรที่มี 2 แถว 10 หลักสำหรับเก็บตัวเลขจำนวนเต็ม
การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอาร์เรย์ 2 มิติ
ตัวอย่างรูปแบบที่ 1 int num[2][3] = {11,12,13,21,22,23};
ตัวอย่างรูปแบบที่ 2 int num[2][3] = {{11,12,13},{21,22,23}};
ตัวอย่างรูปแบบที่ 3 int num[3][3] = {{11,12,13},{21,22,23}};
โดยที่การประกาศตัวแปรทั้ง 3 รูปแบบให้ผลลัพธ์เหมือนกัน คือ
ข้อสังเกต
อาร์เรย์ขนาด 2 มิติขึ้นไป จะไม่ระบุขนาดได้เฉพาะมิติที่ 1 เท่านั้น ส่วนมิติอื่นๆ ต้องมีการระบุขนาดด้วยทุกครั้ง
สตริง(String)
สตริงเป็นออปเจค (Object) ที่สืบทอดคุณสมบัติมาจากคลาสสตริง (Class String) ถ้าต้องการสร้างออปเจคจากคลาสสตริง ต้องประกาศดังนี้
String str = new String(“Java”);
หรือ String str = “Java”;
ถ้าเราต้องการให้ str มีค่าว่างต้องประกาศเช่นนี้ String str = null;
การเก็บข้อมูลของสตริงนั้น จะมีการเก็บข้อมูลอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นข้อมูลตัวอักษรโดยเก็บเรียงกันไป แบะส่วนที่ 2 จะเก็บจุดสิ้นสุดของสตริง ซึ่งจุสิ้นสุดของสตริงจะใช้ Null Characterหรือ ‘\0’
**ตัวอย่าง
class string2 {
public static void main (String[] args) {
String one = "Principle ";
String two = "programming";
String three = null;
three = one + two;
System.out.printf("%s%n",three);
}
}
** ผลลัพธ์ที่ได้คือPrinciple programming
ฟังก์ชันเกี่ยวกับ string
ในภาษาซีมีฟังก์ชันที่เกี่ยวกับ string ที่น่าสนใจอยู่หลายฟังก์ชัน โดยฟังก์ชันเกียวกับ string จะถูกเก็บไว้ใน <string.h> โดยมีฟังก์ชันเกียวกับ string ที่น่าสนใจดังนี้
- strlen(str) ใช้หาความยาว string
- strcmp(str1,str2) ใช้เปรียบเทียบ string str1 กับ str2 ว่า string ตัวใดมาก่อนหรือหลังตามหลักพจนานุกรม ถ้า str1 มาก่อน จะคืนค่า -1 ถ้า str1 มาทีหลัง จะคืนค่า 1 ถ้า str1 กับ str2 เหมือนกันจะคืนค่า 0
- strcat(str1,str2) ใช้เชื่อม string str1 กับ str2 โดยนำ str2 มาต่อท้าย str1
- strlwr(str) ใช้เปลี่ยน string ให้เป็นตัวพิมพ์เล็ก
- strupr(str) ใช้เปลี่ยน string ให้เป็นตัวพิมพืใหญ่
- strrev(str) ใช้กลับตัวอักษรในสตริงจากซ้ายไปขวา
- strcpy(str1,str2) ใช้ copy string จาก str2 ไปให้กับ str1
- strcpy(str1,str2,n) ใช้ copy string จาก str2 ไปให้กับ str1 จำนวน n ตัว