วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทที่ 3 องค์ประกอบของภาษาซี ตัวแปร และชนิดข้อมูล

 สรุปบทที่ 3
องค์ประกอบของภาษาซี ตัวแปร และชนิดข้อมูล

 ภาษาชีถูกพัฒนาขึ้นโดย เดนนิส ริตชี ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ ซึ่งมีต้นแบบมาจากภาษาบีที่อยู่บน   รากฐานของภาษาบีซีพีแอลทางสถาบัน ANSI ได้รับรองมาตรฐานภาษาซีขึ้นมา ภายใต้ชื่อ ANSI-Cปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาษาซีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นเวอร์ชั่นต่างๆ มากมายด้วยการนำมาพัฒนาต่อยอดเป็น C++ หรือ C# โดยได้เพิ่มชุดคำสั่งที่สนับสนุนการโปรแกรมเชิงวัตถุ และยังคงรองรับชุดคำสั่งมาตรฐานของภาษาซีดั้งเดิมอยู่ด้วย

ภาษาซีมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าภาษาระดับสูงทั่วไปในหลายๆ ด้านด้วยกัน  คือ    
  • 1. เป็นภาษาที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ                       
  • 2. เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก    
  • 3. มีประสิทธิภาพสูง    
  • 4. ความสามารถในด้านการโปรแกรมแบบโมดูล   
  •  5. มีตัวแปรชนิดพอยน์เตอร์    
  • 6. ภาษาซีมองตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่แตกต่างกัน ( Case Sensitive )

 โครงสร้างโปรแกรมในภาษาซี แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ 
  • 1. ตัวประมวลผลก่อน ( Preprocessor Directive )
  • 2. ฟังก์ชันหลัก
  • 3. ชุดคำสั่ง
  • 4. คำอธิบายโปรแกรม

กฎเกณฑ์ที่ต้องรู้ในการเริ่มต้นฝึกหัดเขียนโปรแกรมภาษาซี คือ
  1. ที่ส่วนหัวโปรแกรม จะต้องกำหนดตัวประมวลผลก่อนเสมอ                                                   2. ชุดคำสั่งในภาษาซี จะใช้อักษรตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด                                                                   3. ตัวแปรที่ใช้งาน ต้องถูกประกาศชนิดข้อมูลไว้เสมอ                                                                   4. ภายในโปรแกรม จะต้องมีอย่างน้อย ฟังก์ชันเสมอ ซึ่งก็คือฟังก์ชันmain()นั่นเอง                 5. สามารถใช้เครื่องหมายปีกกา{ เพื่อบอกจุดเริ่มต้นของชุดคำสั่ง และเครื่องหมายปีกกาปิด}       6. มื่อเขียนชุดคำสั่งเสร็จแล้ว ต้องจบด้วยเครื่องหมาย ;                                                                 7. สามารถอธิบายโปรแกรมตามความจำเป็นด้วยการใช้เครื่องหมาย/*…..*/ หรือ //….
ตัวแปร คือ ชื่อที่ตั้งขึ้นตามกฎการตั้งชื่อตัวแปร เพื่อนำมาใช้จัดเก็บข้อมูล และอ้างอิงใช้งานภายในโปรแกรม
กฎเกณฑ์การตั้งตัวแปรในภาษาซี ประกอบด้วย
1.  สามรถใช้ตัวอักษร A ถึง หรือ ถึง รวมทั้งตัวเลข ถึง และเครื่องหมาย _Underscore ) มาใช้เพื่อการตั้งชื่อตัวแปรได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ห้ามใช้ตัวเลขนำหน้าชื่อตัวแปร ตัวอย่างเช่น 1 digit ถือว่าผิด แต่ถ้าตั้งชื่อใหม่เป็น digit1 หรือ digit1 ถือว่าถูกต้อง                                                2.  ชื่อตัวแปรสามารถมีความยาวได้ถึง 31 ตัวอักษร ( กรณีเป็น ANSI-C)3.  ชื่อตัวแปร จะต้องไม่ตรงกับคำสงวน ( Reserved Words )

ชนิดข้อมูลตัวอักษร เป็นชนิดข้อมูลที่จัดเก็บตัวอักษรหรือตัวอักษรขระเพียง ตัวเท่านั้นกรณีที่ต้องการจัดเก็บตัวอักขระหลายๆ ตัว เราจะเรียกกลุ่มข้อความนี้ว่า สตริง (String1)
ชนิดข้อมูลแบบเลขจำนวนเต็ม หมายถึงค่าตัวเลขจำนวนเต็ม ไม่มีทศนิยม ซึ่งประกอบด้วย int และ long int แบบไม่มีทศนิยม นอกจากนี้ยังสามารถใช้คำเพิ่มเติมนำหน้าชนิดข้อมูลอย่าง short หรือ long ก็ได้ชนิดข้อมูลแบบทศนิยม หรือเลขจำนวนจริง คือ ค่าตัวเลขที่สามารถมีจุดทศนิยม โดยชนิดข้อมูลนี้สามารถกำหนดขนาดความกว้างตามความต้องการ เช่น floatdouble หรือ long double
 ตัวแปรแบบภายใน  จะถูกประกาศใช้งานเฉพาะฟังก์ชันนั้นๆ ดังนั้น หากตัวแปรแบบภายในของและฟังก์ชัน มีการกำหนดชื่อตัวแปรเหมือนกัน จะถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัว ตัวแปรแบบภายนอก  ถือเป็นตัวแปรสาธารณะที่ทุกๆ โปรแกรมย่อยหรือทุกๆ ฟังก์ชันสามารถใช้งานได้ โดยจะถูกประกาศไว้ภายนอกฟังก์ชัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น