วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทที่ 5        ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลและฟังก์ชันทาง คณิตศาสตร์




สรุปบทที่ 5

       ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลและฟังก์ชันทาง
คณิตศาสตร์

คำสั่งในภาษาซี ล้วนอยู่ในรูปแบบของฟังก์ชัน ซึ่งอาจจะเป็นฟังก์ชันมาตรฐานที่ภาษาซีได้จัดเตรียมมาให้แล้ว (ประกาศใช้อยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ต่างๆ) นอกจากนี้ก็ยังมีฟังก์ชันที่เราสามารถเขียนขึ้นเพื่อใช้งานเอง

ตัวอย่างฟังก์ชันที่ภาษาซีจัดเตรียมไว้ให้ เช่น ฟังก์ชั่น printf() ที่นำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ข้อมูล เพื่อแสดงออกทางจอภาพ หรือกรณีต้องการรับค่าข้อมูลทางแป้นพิมพ์ ก็จะต้องใช้ฟังก์ชัน scanf() เป็นต้น ทั้งนี้การเรียกใช้งานฟังก์ชันดังกล่าว จำเป็นต้องรู้ถึงรูปแบบการเขียน (Syntax) รวมถึงต้องรู้ด้วยว่าฟังก์ชันที่ใช้งานเหล่านี้ ประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ใด




ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลข้อมูล
ในภาษาซี ได้เตรียมฟังก์ชั่นเพื่อการรับและแสดงผลข้อมูลอยู่หลายคำสั่งด้วยกัน ซึ่งสามารถนำมาเลืิอกใช้งานตามความเหมาะสม



1. ฟังก์ชัน printf()
เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับแสดงผลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ข้อความหรือตัวแปร
2. ฟังก์ชัน scanf()
เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับค่าข้อมูลจากทางแป้นพิมพ์เพื่อจัดเก็บไว้ในตัวแปร
3. ฟังก์ชัน getchar()
เป็นฟังก์ชันที่นำมาสำหรับรับค่าตัวอักษรหรืออักขระ 1 ตัว โดยค่าที่ป้อนลงไปจะแสดงให้เห็นทางจอภาพ และจะต้องเคาะ enter เพื่อแสดงถึงการสิ้นสุด
4. ฟังก์ชัน putcher()
เป็นฟังก์ที่นำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ค่าตัวแปรอักขระที่ถูกป้อนด้วยฟังก์ชัน getcher() หรือนำมาพิมพ์รหัสพิเศษได้
5. ฟังก์ชัน getch และ getch
ภาษาซีมีฟังก์ชันที่นำมาใช้เพื่อการรับค่าตัวอักขระอย่างฟังก์ชัน getch() และ getch() แต่ฟังก์ชันทั้งสองถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์
ฟังก์ชันจัดการจอภาพ
สำหรับฟังก์ชันเพื่อจัดการจอภาพ ในที่นี้กล่าวถึงฟังก์ชันที่ใช่สำหรับการล้างหน้าจอ
1. ฟังก์ชัน clrscr()
เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับล้างจอภาพ โดยจะล้างข้อความเดิมบนจอภาพออกทั้งหมด
ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
ในบทที่ผ่านมา ได้เรียนรู้เกี่นวกัยตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องหมาย *, /, +, - และ % สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงพื้นฐานเท่านั้น
ในภาษาซี ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ดังกล่าว จะถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ชื่อ <math.h> โดยเฉพาะเครื่องหมายยกำลัง ซึ่งในภาษาในระดับสูงทั่วไป มักจะใช้เครื่องหมาย ^ หรือ **แต่ภาษาซีจะใช้ฟังก์ชัน poe() แทน











สรุปบทที่4 นิพจน์และตัวดำเนินการ



สรุปบทที่ 4


         นิพจน์และตัวดำเนินการ



นิพจน์ประกอบด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ และตัวดำเนินการเดินทางคณิตศาสตร์มาประกอบรวมกันตัวดำเนินการพื้นฐานในภาษซีประกอบด้วย

1. ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์จัดเป็นตัวดำเนินการพื้นฐาน ที่นำมาใช้เพื่อกำหนดการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และโมดูลัส


 2.ตัวดำเนินการยูนารี
ตัวดำเนินการยูนารี ตัวแรกที่กล่าวถึงคือ เครื่องหมายลบที่นำมาใช้นำหน้าค่าตัวเลข



3.ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
ในภาษาซี จะมีตัวดำเนินการที่นำมาใช้เพื่อการเปรียบเทียบค่า


4.ตัวดำเนินการตรรกะ


นอกจากต้วดำเนินการเปรียบเทียบแล้ว เรายังสามารถนำตัวดำเนินการตรรกะมาใช้ร่วมกันได้






5.ตัวดำเนินการกำหนดค่าแบบผสม จากความรู้ที่ผ่านมา ได้เรียนรู้ถึงการกำหนดค่าให้กับตัวแรมาบ้างแล้ว แต่ในภาษาซี ยังมีตัวดำเนินการกำหนค่าแบบผสมอีก


6. ตัวดำเนินการเงื่อนไข
ตัวดำเนินการเงื่อนไข จะนำมาใช้เพื่อทดสอบค่านิพจน์ทางตรรกะว่าจริงหรือเท็จ



 ตัวดำเนินการแต่ละตัว จะถูกจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังที่แตกต่างกัน โดยการคำนวณจะกระทำกับตัวดำเนินการที่มีลำดับความสำคัญสูงก่อนเสมอ


        กรณีลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการเท่ากัน โดยปกติการประมวลผลจะกระทำกับตัวดำเนินการจากซ้ายไปขวา ซึ่งหมายถึงจะกระทำกับตัวดำเนินการพบก่อนนั่นเอง


        ตัวดำเนินการที่เรียกว่า การแคสต์ (Casting) นำมาใช้เพื่อแปลงชนิดข้อมูลจากชนิดหนึ่ง มาเป็นอีกชนิดหนึ่งโดยให้ระบุชนิดข้อมูลที่ต้องการภายในเครื่องหมายวงเล็บหน้านิพจน์ที่ต้องการ


สรุปบทที่ 3 องค์ประกอบของภาษาซี ตัวแปร และชนิดข้อมูล

 สรุปบทที่ 3
องค์ประกอบของภาษาซี ตัวแปร และชนิดข้อมูล

 ภาษาชีถูกพัฒนาขึ้นโดย เดนนิส ริตชี ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ ซึ่งมีต้นแบบมาจากภาษาบีที่อยู่บน   รากฐานของภาษาบีซีพีแอลทางสถาบัน ANSI ได้รับรองมาตรฐานภาษาซีขึ้นมา ภายใต้ชื่อ ANSI-Cปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาษาซีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นเวอร์ชั่นต่างๆ มากมายด้วยการนำมาพัฒนาต่อยอดเป็น C++ หรือ C# โดยได้เพิ่มชุดคำสั่งที่สนับสนุนการโปรแกรมเชิงวัตถุ และยังคงรองรับชุดคำสั่งมาตรฐานของภาษาซีดั้งเดิมอยู่ด้วย

ภาษาซีมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าภาษาระดับสูงทั่วไปในหลายๆ ด้านด้วยกัน  คือ    
  • 1. เป็นภาษาที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ                       
  • 2. เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก    
  • 3. มีประสิทธิภาพสูง    
  • 4. ความสามารถในด้านการโปรแกรมแบบโมดูล   
  •  5. มีตัวแปรชนิดพอยน์เตอร์    
  • 6. ภาษาซีมองตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่แตกต่างกัน ( Case Sensitive )

 โครงสร้างโปรแกรมในภาษาซี แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ 
  • 1. ตัวประมวลผลก่อน ( Preprocessor Directive )
  • 2. ฟังก์ชันหลัก
  • 3. ชุดคำสั่ง
  • 4. คำอธิบายโปรแกรม

กฎเกณฑ์ที่ต้องรู้ในการเริ่มต้นฝึกหัดเขียนโปรแกรมภาษาซี คือ
  1. ที่ส่วนหัวโปรแกรม จะต้องกำหนดตัวประมวลผลก่อนเสมอ                                                   2. ชุดคำสั่งในภาษาซี จะใช้อักษรตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด                                                                   3. ตัวแปรที่ใช้งาน ต้องถูกประกาศชนิดข้อมูลไว้เสมอ                                                                   4. ภายในโปรแกรม จะต้องมีอย่างน้อย ฟังก์ชันเสมอ ซึ่งก็คือฟังก์ชันmain()นั่นเอง                 5. สามารถใช้เครื่องหมายปีกกา{ เพื่อบอกจุดเริ่มต้นของชุดคำสั่ง และเครื่องหมายปีกกาปิด}       6. มื่อเขียนชุดคำสั่งเสร็จแล้ว ต้องจบด้วยเครื่องหมาย ;                                                                 7. สามารถอธิบายโปรแกรมตามความจำเป็นด้วยการใช้เครื่องหมาย/*…..*/ หรือ //….
ตัวแปร คือ ชื่อที่ตั้งขึ้นตามกฎการตั้งชื่อตัวแปร เพื่อนำมาใช้จัดเก็บข้อมูล และอ้างอิงใช้งานภายในโปรแกรม
กฎเกณฑ์การตั้งตัวแปรในภาษาซี ประกอบด้วย
1.  สามรถใช้ตัวอักษร A ถึง หรือ ถึง รวมทั้งตัวเลข ถึง และเครื่องหมาย _Underscore ) มาใช้เพื่อการตั้งชื่อตัวแปรได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ห้ามใช้ตัวเลขนำหน้าชื่อตัวแปร ตัวอย่างเช่น 1 digit ถือว่าผิด แต่ถ้าตั้งชื่อใหม่เป็น digit1 หรือ digit1 ถือว่าถูกต้อง                                                2.  ชื่อตัวแปรสามารถมีความยาวได้ถึง 31 ตัวอักษร ( กรณีเป็น ANSI-C)3.  ชื่อตัวแปร จะต้องไม่ตรงกับคำสงวน ( Reserved Words )

ชนิดข้อมูลตัวอักษร เป็นชนิดข้อมูลที่จัดเก็บตัวอักษรหรือตัวอักษรขระเพียง ตัวเท่านั้นกรณีที่ต้องการจัดเก็บตัวอักขระหลายๆ ตัว เราจะเรียกกลุ่มข้อความนี้ว่า สตริง (String1)
ชนิดข้อมูลแบบเลขจำนวนเต็ม หมายถึงค่าตัวเลขจำนวนเต็ม ไม่มีทศนิยม ซึ่งประกอบด้วย int และ long int แบบไม่มีทศนิยม นอกจากนี้ยังสามารถใช้คำเพิ่มเติมนำหน้าชนิดข้อมูลอย่าง short หรือ long ก็ได้ชนิดข้อมูลแบบทศนิยม หรือเลขจำนวนจริง คือ ค่าตัวเลขที่สามารถมีจุดทศนิยม โดยชนิดข้อมูลนี้สามารถกำหนดขนาดความกว้างตามความต้องการ เช่น floatdouble หรือ long double
 ตัวแปรแบบภายใน  จะถูกประกาศใช้งานเฉพาะฟังก์ชันนั้นๆ ดังนั้น หากตัวแปรแบบภายในของและฟังก์ชัน มีการกำหนดชื่อตัวแปรเหมือนกัน จะถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัว ตัวแปรแบบภายนอก  ถือเป็นตัวแปรสาธารณะที่ทุกๆ โปรแกรมย่อยหรือทุกๆ ฟังก์ชันสามารถใช้งานได้ โดยจะถูกประกาศไว้ภายนอกฟังก์ชัน

สรุปที่ 2 หลักการเขียนโปรแกรมภาษา C และการติดตั้งโปรแกรม turbo C++


สรุปบทที่ 2



   หลักการเขียนโปรแกรมภาษา C และการติดตั้งโปรแกรม turbo C++

หลักการเขียนโปรแกรมภาษา C ประกอบด้วย 

  • 1. สร้างโปรแกรม
  • 2. คอมไพล์โปรแกรม
  • 3. เชื่อมโยงโปรแกรม
  • 4. รันโปรแกรม    


 อินเตอร์พรีเตอร์  เป็นตัวแปลภาษาที่จะแปลโปรแกรมแบบทีละคำสั่งพร้อมกับรันโปรแกรมในขณะเดียวกัน หากไม่พบข้อผิดพลาดใดๆ ก็จะนำคำสั่งถัดไปมาแปลและรันต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งจบโปรแกรม หรือหากพบข้อผิดพลาดขึ้น โปรแกรมก็จะหยุดทำงานทันที และจะแจ้งข่าวสารข้อผิดพลาดให้รับทราบทางจอภาพ





     คอมไพเลอร์  เป็นตัวแปลภาษาที่จะแปลแบบทั้งโปรแกรม หากแปลแล้วพบข้อผิดพลาด โปรแกรมจะไม่สามารถรันได้ ต้องกลับไปแก้ไขโปรแกรมให้ถูกต้อง แล้วคอมไพล์ใหม่จนกระทั่งไม่พบข้อผิดพลาดใดๆ

    


















     Turbo C++ เวอร์ชั่น 4.5 เป็นโปรแกรมที่รวมเอดิเตอร์และคอมไพล์เลอร์ไว้ในตัวเดียวกัน สามารถติดตั้งเพื่อใช้งานระบบปฎิบัติการ Windows ได้ นอกจากนี้ตัวโปรแกรมยังมีขนาดเล็ก ทำงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เหมาะกับการนำมาใช้งานเพื่อฝึกหัดเขียนโปรแกรมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากติดตั้งง่ายใช้งานสะดวก สามารถหาดาวน์โหลดมาใช้งานได้จากอินเทอร์เน็ต



ชนิดของข้อผิดพลาด ที่เกี่ยวกับงานเขียนโปรแกรม ประกอบด้วย 


1. ข้อผิดพลาดที่เกิดจากไวยากรณ์
2. ข้อผิดพลาดที่เกิดจากตรรกะโปรแกรม
3. ข้อผิดพลาดขณะรันโปรแกรม