สรุปบทที่ 5
ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลและฟังก์ชันทาง
คณิตศาสตร์
คำสั่งในภาษาซี ล้วนอยู่ในรูปแบบของฟังก์ชัน ซึ่งอาจจะเป็นฟังก์ชันมาตรฐานที่ภาษาซีได้จัดเตรียมมาให้แล้ว (ประกาศใช้อยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ต่างๆ) นอกจากนี้ก็ยังมีฟังก์ชันที่เราสามารถเขียนขึ้นเพื่อใช้งานเอง
ตัวอย่างฟังก์ชันที่ภาษาซีจัดเตรียมไว้ให้ เช่น ฟังก์ชั่น printf() ที่นำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ข้อมูล เพื่อแสดงออกทางจอภาพ หรือกรณีต้องการรับค่าข้อมูลทางแป้นพิมพ์ ก็จะต้องใช้ฟังก์ชัน scanf() เป็นต้น ทั้งนี้การเรียกใช้งานฟังก์ชันดังกล่าว จำเป็นต้องรู้ถึงรูปแบบการเขียน (Syntax) รวมถึงต้องรู้ด้วยว่าฟังก์ชันที่ใช้งานเหล่านี้ ประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ใด
ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลข้อมูล
ในภาษาซี ได้เตรียมฟังก์ชั่นเพื่อการรับและแสดงผลข้อมูลอยู่หลายคำสั่งด้วยกัน ซึ่งสามารถนำมาเลืิอกใช้งานตามความเหมาะสม
1. ฟังก์ชัน printf()
เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับแสดงผลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ข้อความหรือตัวแปร
2. ฟังก์ชัน scanf()
เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับค่าข้อมูลจากทางแป้นพิมพ์เพื่อจัดเก็บไว้ในตัวแปร
3. ฟังก์ชัน getchar()
เป็นฟังก์ชันที่นำมาสำหรับรับค่าตัวอักษรหรืออักขระ 1 ตัว โดยค่าที่ป้อนลงไปจะแสดงให้เห็นทางจอภาพ และจะต้องเคาะ enter เพื่อแสดงถึงการสิ้นสุด
4. ฟังก์ชัน putcher()
เป็นฟังก์ที่นำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ค่าตัวแปรอักขระที่ถูกป้อนด้วยฟังก์ชัน getcher() หรือนำมาพิมพ์รหัสพิเศษได้
5. ฟังก์ชัน getch และ getch
ภาษาซีมีฟังก์ชันที่นำมาใช้เพื่อการรับค่าตัวอักขระอย่างฟังก์ชัน getch() และ getch() แต่ฟังก์ชันทั้งสองถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์
ฟังก์ชันจัดการจอภาพ
สำหรับฟังก์ชันเพื่อจัดการจอภาพ ในที่นี้กล่าวถึงฟังก์ชันที่ใช่สำหรับการล้างหน้าจอ
1. ฟังก์ชัน clrscr()
เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับล้างจอภาพ โดยจะล้างข้อความเดิมบนจอภาพออกทั้งหมด
ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
ในบทที่ผ่านมา ได้เรียนรู้เกี่นวกัยตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องหมาย *, /, +, - และ % สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงพื้นฐานเท่านั้น
ในภาษาซี ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ดังกล่าว จะถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ชื่อ <math.h> โดยเฉพาะเครื่องหมายยกำลัง ซึ่งในภาษาในระดับสูงทั่วไป มักจะใช้เครื่องหมาย ^ หรือ **แต่ภาษาซีจะใช้ฟังก์ชัน poe() แทน